News Agency
Men's Weekly

  • Written by Media Outreach

เขตบริหารพิเศษฮ่องกง - Media OutReach - 9 กันยายน 2564 - เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทด้านโภชนาการชั้นนำของโลก เปิดเผยผลสำรวจด้านอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก หัวข้อ Asia Pacific Healthy Breakfast Survey ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 3 โดยเผยว่าความต้องการที่จะเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้นเป็นเหตุผลหลักที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าไปในทางบวก พบว่าผู้บริโภค 3 ใน 10 (30%) เริ่มรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้นอันเนื่องมาจากสถานการณ์ปัจจุบัน และผู้ตอบแบบสอบถามครึ่งหนึ่งที่เริ่มรับประทานอาหารเช้ากล่าวว่า พวกเขารับประทานอาหารเช้า 6-7 วันต่อสัปดาห์บ่อยขึ้น

image

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนพฤติกรรมความชอบของกลุ่มประชากรต่าง ๆ ผลสำรวจอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2564 ของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จึงได้ทำการสำรวจผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปมากกว่า 5,500 คนใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 50% ในแต่ละประเทศเป็น Gen Z (อายุ 18-24 ปี) หรือ Millennials (อายุ 25- 40 ปี)

Stephen Conchie รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "การระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ผู้บริโภคจำนวนมาก ทั้ง Gen Z และ Millennials จึงเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมที่ไม่รับประทานอาหารเช้ามาก่อน มาเป็นการทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากมีความตระหนักเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความจำเป็นในการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งนับเป็นอีกก้าวที่นำไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางโภชนาการเชิงบวกและวางรากฐานแก่ผู้บริโภคในการมีชีวิตและสุขภาพที่ดี"

ความถี่ในการรับประทานอาหารเช้าที่สูงขึ้นเห็นได้ชัดเจนในหมู่ผู้บริโภค Gen Z และ Millennials

2 ใน 5 (37%) ของผู้บริโภค Gen Z และ Millennials ในเอเชียแปซิฟิกเริ่มรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้นอันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 30% ในทุกกลุ่มอายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าที่เปลี่ยนไปในกลุ่ม Gen Z และ Millennials นั้นจะเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในหมู่ชาวไทย (65%) และฟิลิปปินส์ (53%) โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 40 ปีรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้น

เมื่อถามถึงเหตุผลในการรับประทานอาหารเช้าบ่อยขึ้น เห็นได้ว่าสาเหตุอันดับต้น ๆ ของ Gen Z และ Millennials จะมีความคล้ายคลึงกับผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกโดยเฉลี่ย ซึ่งประกอบไปด้วย:  

  • ต้องการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ( 65%)
  • มีเวลาเตรียมอาหารเช้ามากขึ้นในตอนเช้า (48%)
  • ต้องการใช้เวลาที่บ้านเพื่อเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไปในทางบวก (41%)

นอกจากความถี่ในการรับประทานอาหารเช้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว 4 ใน 10 ของกลุ่ม Gen Z และ Millennials (41%) ก็เริ่มรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพเช่นกัน จุดเปลี่ยนนี้แพร่หลายมากขึ้นในฟิลิปปินส์ (66%) อินโดนีเซีย (61%) และเวียดนาม (57%) การเปลี่ยนแปลงสำคัญในการรับประทานอาหารเช้าของ Gen Z และ Millennials ได้แก่:

  • เพิ่มผักและผลไม้ในอาหารเช้ามากขึ้น (57%)
  • เช็คให้แน่ใจว่าฉันรับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารสมดุล (54%)
  • ดื่มน้ำมากขึ้นในมื้อเช้า (52%)

ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของคุณค่าทางโภชนาการในหมู่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก

การตระหนักว่าคุณค่าทางโภชนาการเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารเช้าเพื่อสุขภาพนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหมู่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก เมื่อถามถึงปัจจัยที่ทำให้อาหารเช้าเป็นมื้อที่ดีต่อสุขภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกคุณค่าโภชนาการเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด (50%) ตามด้วยการเตรียมที่ง่ายและรวดเร็ว (16%) รสชาติ (14%) และความสะดวก (14%)

ผลสำรวจอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในเอเชียแปซิฟิก ที่จัดทำขึ้นในปี 2562 โดยเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น พบว่า คุณค่าทางโภชนาการมีความสำคัญน้อยลงสำหรับผู้บริโภค รองลงมาจากรสชาติและความสะดวกสบาย

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเห็นคุณค่าในการบริโภคอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง

เมื่อถามถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารเช้าของแต่ละคน ผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลหลักๆ ว่า ช่วยเพิ่มพลังงานในตอนเช้า (76%) กระตุ้นการเผาผลาญสำหรับวัน (49%) และช่วยให้มีสมาธิในการเรียนหรือทำงานดีขึ้น (49%)   

นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาค (73%) ยังเห็นคุณค่าในการรับประทานอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูง โดยให้เหตุผลดังนี้  67% บอกว่าอาหารเช้าที่มีโปรตีนสูงช่วยให้พวกเขาได้รับพลังงานต่อเนื่องไปจนถึงของว่างหรืออาหารมื้อต่อไป  65% บอกว่าช่วยส่งเสริมสุขภาพของกล้ามเนื้อ  และ 53% บอกว่าช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน

ความไม่สะดวกสบายคืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่รับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (74%) เชื่อว่าการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ และตั้งใจที่จะรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพเมนูอื่น ๆ (85%) แต่คนส่วนน้อยยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการทำให้อาหารเช้าเพื่อสุขภาพเป็นกิจวัตรประจำวันหลักของพวกเขา

 

ในบรรดาผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ มีสาเหตุหลักจาก  27% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ ใช้เวลานานเกินไปในการทำ  25% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ ไม่สำคัญสำหรับพวกเขา และ 23% เมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ มีราคาแพง  เมื่อถามถึงความเต็มใจในการใช้จ่ายสำหรับอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ คนส่วนใหญ่จะไม่ต้องการใช้เงินมากกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อมื้อ 

"อาหารเช้าเพื่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานเกินไปในการทำ มีเมนูอาหารเช้ามากมายที่ทำได้แบบไม่ยุ่งยาก ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารมากขึ้น และยังเตรียมได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีพลังงานในการเริ่มต้นวันใหม่ไปพร้อมกันกับการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวมในระยะยาวขึ้น" Conchie กล่าวเพิ่มเติม

Read more

How Headless CMS Enhances Responsive Design and Layout Flexibility

Image by freepik As digital technology continues to evolve at a breakneck pace, users expect much more from content than ever before, and responsive design is crucial to ensure content not only looks but operates across all screens. No longer are... Read more

Writers Wanted



NewsServices.com

Content & Technology Connecting Global Audiences

More Information - Less Opinion