News Agency
Men's Weekly

  • Written by Media Outreach

โตเกียว - Media OutReach - 17 กันยายน พ.ศ. 2564 - การทดลองร่วมทางคลินิกยืนยันว่า การใช้พลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis (LC-Plasma)*1 ของบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด (คิริน โฮลดิ้งส์) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองเดือนจะช่วยลดจำนวนวันที่เป็นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดกระบอกตา ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการสำคัญของไข้เลือดออก LC-Plasma เป็นสารอาหารเฉพาะด้าน (Functional Ingredient) เดียวกันกับที่ใช้ใน IMMUSE ที่มีความเสถียรของคิริน โฮลดิ้งส์ ซึ่งช่วยรักษาระบบภูมิคุ้มกัน การศึกษานี้ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยกลางของคิริน (Kirin Central Research Institute)  โดยได้รับความร่วมมือจาก ศาสตราจารย์ ดร. ซาซาลีย์ อาบู บาการ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อเขตร้อน (TIDREC) มหาวิทยาลัยมาลายา

*1: Lactococcus lactis subsp. lactis JCM 5805 เป็นกรรมสิทธิ์ของ RIKEN BioResource Research Center

 

  • ไม่มีทางรักษา ไม่มีวัคซีน...แต่ความหวังที่จะลดอาการเหล่านี้กลับเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้อาหาร

โลกของเรายังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนที่เป็นที่แน่ชัดในการรักษาโรคไข้เลือดออก อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เรายังคงมีความหวังที่จะจัดการกับอาการต่าง ๆ ได้ การทดลองทางคลินิกยืนยันถึงผลการต้านอาการที่มีความคล้ายคลึงกับอาการของไข้เลือดออกจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและไม่ต้องพึ่งโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จที่ก้าวล้ำและมีศักยภาพในการแก้ปัญหาสังคมทั่วโลกในส่วนของโรคไข้เลือดออก ผลการวิจัยนี้ได้มีการนำเสนอในการประชุมประจำปีครั้งที่ 25 ของสมาคมการท่องเที่ยวและสุขภาพแห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา 

image

เนื่องจาก LC-Plasma ทำให้ศูนย์สั่งการของระบบภูมิคุ้มกันต้านไวรัสทำงาน จึงแสดงให้เห็นว่ามันมีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสหลากหลายชนิดที่นอกเหนือไปจากไวรัสไข้เลือดออก*2 ในอนาคตนี้ คิริน โฮลดิ้งส์ และมหาวิทยาลัยมาลายาจะเร่งดำเนินการวิจัยร่วมกันโดยมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านไวรัสของ LC-Plasma ต่อไวรัสโรคเขตร้อนอื่น ๆ นอกเหนือจากไวรัสไข้เลือดออก

*2: รายงานการวิจัยพลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis https://health.kirin.co.jp/ps/index.html

 

คิริน โฮลดิ้งส์ รายงานว่า LC-Plasma แสดงผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสผ่านการกระตุ้นเซลล์ Plasmacytoid Dendritic*3 ในการทดลองที่ไม่ใช่ทางคลินิกและทางคลินิก และ LC-Plasma สามารถลดอุบัติการณ์ของไข้หวัดใหญ่*4 ได้ในการทดสอบทางคลินิก ด้วยความร่วมมือกับ TIDREC ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือเพื่อการอ้างอิงและวิจัยอาร์โบไวรัสขององค์การอนามัยโลก ความร่วมมือของเราจะยังคงเดินหน้าตรวจสอบถึงผลกระทบของ LC-Plasma ต่อโรคติดเชื้อเขตร้อนอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่อไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน ควบคู่กันไปนั้น คิริน โฮลดิ้งส์ จะทำให้ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึง LC-Plasma ได้มากขึ้นผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรและการขยายธุรกิจ ซึ่งจะมอบทางออกให้กับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

*3: Jounai et al., PLoS One (2012) / Sugimura et al., Clin. Immunol (2013)

*4: Sakata et al., Health (2017)

[เอกสารแนบ]

1.         สรุปผลการวิจัยร่วมเกี่ยวกับไข้เลือดออก (1 หน้า)

เอกสารแนบ

สรุปผลการวิจัยร่วมไข้เลือดออก

 

การทดลองทางคลินิก

จากผลการวิจัยก่อนหน้านี้ที่ดำเนินการโดยบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด*5 สถาบันวิจัยกลางของคิริน (Kirin Central Research Institute) ประจำบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด และศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อในเขตร้อน (TIDREC) ที่มหาวิทยาลัยมาลายา ได้ร่วมมือกันในโครงการวิจัยร่วมเกี่ยวกับพลาสมาสายพันธุ์จาก Lactococcus lactis (LC-Plasma) กับโรคไข้เลือดออกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 ในช่วงเวลาการทดลองนี้ มีการขอให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีประมาณ 100 คน ผู้ถือสัญชาติมาเลเซียและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไข้เลือดออกใกล้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย รับประทานยาเม็ดที่มี LC-Plasma (ประมาณ 100 พันล้านเซลล์) หรือยาหลอกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และวัดอาการ ผลการศึกษาพบว่า LC-Plasma สามารถลดจำนวนวันสะสมซึ่งปรากฏอาการคล้ายไข้เลือดออกได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ และปวดหลังตา (ภาพที่ 1-3) ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า LC-Plasma ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันความรุนแรงของโรคได้ ในขณะที่ทางเลือกอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับโรคไข้เลือดออกคือการบำบัดด้วยการใช้วิธีการแก้ปัญหา

image

รูปที่1-3 การเปรียบเทียบจำนวนวันรวมที่มีอาการเฉพาะของโรคในเขตร้อน เช่น ไข้เลือดอออก (อาการแทน) 

*5: Tsuji et al., Antiviral Res (2018) / Suzuki et al., Int J Mol Med. (2019)

เค้าโครงงานวิจัยร่วม

  • สถานที่: ห้องปฏิบัติการเพื่อการศึกษาการควบคุมภูมิคุ้มกัน ศูนย์วิจัยและการศึกษาโรคติดเชื้อเขตร้อน (TIDREC) มหาวิทยาลัยมาลายา
  • นักวิจัยรับเชิญ: นักวิจัยหนึ่งท่านซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์รับเชิญจากบริษัท คิริน โฮลดิ้งส์ จำกัด
  • ระยะเวลาการวิจัย: ตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2566 (หลังจากนั้นจะขยายระยะเวลาตามความคืบหน้าของโครงการและการวิจัย)
  • หัวข้อการวิจัย: ดำเนินการวิจัยทางภูมิคุ้มกันเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในเขตร้อน เพื่อสนับสนุนการสาธารณสุขในภูมิภาค และเร่งการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศในส่วนธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพของคิริน โฮลดิ้งส์ โดย:

Read more

How Headless CMS Enhances Responsive Design and Layout Flexibility

Image by freepik As digital technology continues to evolve at a breakneck pace, users expect much more from content than ever before, and responsive design is crucial to ensure content not only looks but operates across all screens. No longer are... Read more

Writers Wanted



NewsServices.com

Content & Technology Connecting Global Audiences

More Information - Less Opinion